วันอังคารที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

นวัตกรรมของในหลวง




"ฝนหลวง"
เป็นโครงการสำคัญที่คนไทยรู้จักดี และเมื่อปี 2548ที่เพิ่งผ่านไปนั้นฝนหลวงก็ได้เทลงมาให้หัวใจไทยชุ่มฉ่ำอีกครั้งและช่วยชะล้างความทุกข์ในใจชาวไทยจากปัญหาภัยแล้งช่วงกลางปีในหลาย พื้นที่ ซึ่งระดับน้ำในเขื่อนทั้ง 13 แห่งทั่วประเทศลดลงจนอยู่ในขั้นวิกฤต โดยผลจากการกู้ภัยแล้งด้วยโครงการหลวงก็สามารถบรรเทาวิกฤตดังกล่าวได้อย่างน่าพอใจ ทั้งนี้โครงการฝนหลวงเกิดจากพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเมื่อครั้งเสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมพสกนิกรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือเมื่อปี 2498 และทรงสังเกตเห็นว่าบนท้องฟ้ามีเมฆปกคลุมแต่ไม่รวมตัวกันให้เกิดฝน จึงมีพระราชดำริว่าน่าจะมีมาตรการทางวิทยาศาสตร์ มาช่วยให้เมฆเหล่านั้นก่อตัวเป็นเมฆฝนได้ จนกระทั่งมีการจัดตั้ง“สำนักงานปฏิบัติการฝนหลวง ” ซึ่งดำเนินงานฝนหลวงมาจนถึงปัจจุบัน หลักการทำฝนหลวงมีขั้นตอนโปรย“ผงเกลือแป้ง”เพื่อเป็นแกนในการดูดความชื้นในอากาศจากนั้นใช้สารเคมีอีกหลายชนิดเพื่อช่วยในการเพิ่ม แกนเม็ดไอน้ำ (Nuclii) เช่น เกลือแกง ยูเรีย แอมโมเนียไนเตรตและน้ำแข็งแห้ง เป็นต้น จนเมื่อเมฆเติบโตและเคลื่อนสู่เป้าหมายก็ใช้เทคนิคจู่โจมกลุ่มเมฆโดยโปรยเกลือโซเดียมคลอไรด์ทับยอดเมฆและฐานเมฆและโปรยผงยูเรียเพื่อให้อุณหภูมิลดลงทำให้เกิดเม็ดน้ำขนาดใหญ่แล้วตกกลายเป็นฝน

ที่มา : ผู้จัดการออนไลน์ http://www.manager.co.th/Science/ViewNews.aspx?NewsID=9490000075326

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น